Page 3 - ตู้พระไตรปิฎก มรดกประณีตศิลป์
P. 3

ลวดลายสมัยอยุธยามีความอ่อนช้อย ปลายพลิ้ว
                                              แสดงถึงความมีอิสระของช่างไทยที่แสดงฝีมือได้อย่าง

                                              เต็มที่โดยไม่ถูกจ�ากัดด้วยรูปแบบต้นร่าง ลวดลายและ
                                              องค์ประกอบบนตู้พระไตรปิฎกจึงมีทั้งที่เป็นรูปแบบ

                                              เดียวกันและแตกต่างกัน แต่สอดคล้องลงตัวอย่างพอเหมาะ
                                              งดงาม ถ้าเป็นสมัยอยุธยาตอนต้น ครูช่างจะมีช่องไฟ
                                              เว้นไว้พองาม ส่วนสมัยอยุธยาตอนปลายนั้น ศิลปิน

                                              นิยมเขียนลายเต็มพื้นที่ ความงดงามดังกล่าวบอกเล่า
                                              สะท้อนถึงสังคมที่อยู่ดีมีสุข และจิตใจอันอ่อนโยนของ
                                              ผู้คนในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี แต่เมื่อบ้านเมืองเข้าสู่ภาวะ

                                              ศึกสงครามยืดเยื้อยาวนานช่วงปลายกรุงศรีอยุธยา ไฟ
                                              สงครามและความพลัดพรากสูญเสียได้บั่นทอนความ
                                              สุนทรีในจิตใจของผู้คน ลวดลายศิลปะในสมัยธนบุรีจึง

                                              ขาดอิสระในปลายเส้น และความพิถีพิถันในการเขียน
                                              ลายก็น้อยกว่าสมัยอยุธยา ส่วนในสมัยรัตนโกสินทร์ ช่าง

                                              มักยึดติดกับต้นแบบที่ร่างไว้ ท�าให้ลวดลายมักเป็นลาย
            ตู้พระธรรมขาหมู ลายรดน�้า         เดียวกันตลอดทั้งตู้ ปลายเส้นก็ดูแข็งกระด้าง ขาดอิสระ
            วาดลวดลายเรื่องรามเกียรติ์
                                              ไม่อ่อนช้อยพลิ้วไหวเหมือนยุคที่ผ่านมา ถึงกระนั้นก็ยัง
                                              คงความงดงามวิจิตรบรรจงได้อย่างน่าชื่นชม































          ภาพสัตว์หิมพานต์ ลายรดน�้า                    ลายรดน�้าผูกลายกระหนกก้านขด
             ตู้พระธรรมวัดเชิงหวาย                     เรื่องรามเกียรติ์ ศิลปะรัตนโกสินทร์
        ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ ๒๔)


           66    อยู่ในบุญ มีนาคม ๒๕๕๙




                                                     66
   1   2   3   4   5   6