Page 4 - พระมหากษัตริย์ไทยกับพระไตรปิฎก ตอน ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
P. 4

ครั้นเมื่อการสังคายนาเสร็จสมบูรณ์

                                                            เมื่อกลางเดือน ๕ ปีระกา พ.ศ. ๒๓๓๒ ทรง

                                                            สละพระราชทรัพย์จ้างช่างจารจารึกลงใน
                                                            ใบลานด้วยอักษรขอม  ปิดทองแท่งทับ

                                                            ทั้งใบปกหน้าหลังและกรอบทั้งสิ้น ห่อด้วย

                                                            ผ้ายก เชือกรัดถักด้วยไหมแพรเบญจพรรณ
                                                            มีฉลากงาแกะเขียนอักษรด้วยหมึก และ

                คัมภีร์ใบลานฉบับทองใหญ่ ไม้ประกับทองทึบ     ฉลากทอเป็นตัวอักษร บอกชื่อพระคัมภีร์
                               ฉลากทอ                       ทุกคัมภีร์ เรียกคัมภีร์พระไตรปิฎกฉบับหลวง

            นี้ว่า ฉบับทองทึบ และเรียกฉบับหอหลวงว่า ฉบับสังคายนา หรือที่นิยมเรียกว่า ฉบับครูเดิม
            ต่อมาพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลอื่นก็มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระไตรปิฎก

            ฉบับทองทึบขึ้นอีก จึงเรียกฉบับเดิมที่สร้างสมัยรัชกาลที่ ๑ ว่า ฉบับทองใหญ่ ประดิษฐาน

            ในตู้ประดับมุก รักษาไว้ที่หอพระมณเฑียรธรรม วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

























                                                                               ตู้พระไตรปิฎกประดับมุก
                                                                               สมัยรัชกาลที่ ๑




                 ต่อมายังทรงสร้างพระไตรปิฎกขึ้นอีก ๒ ชุด เพื่อใช้ในการสอบพระปริยัติธรรมในกรม
            ราชบัณฑิต เรียกว่า ฉบับรองทรงและฉบับทองชุบ นอกจากนี้เพื่อให้พระภิกษุสามเณรทั่วแว่นแคว้น

            มีพระไตรปิฎกฉบับถูกต้องสมบูรณ์ไว้เล่าเรียนศึกษา พระองค์จึงทรงสร้างพระไตรปิฎกพระราชทาน

            ทุกพระอารามหลวง และพระราชทานอนุญาตให้พระภิกษุสงฆ์สามารถยืมพระไตรปิฎกฉบับหลวง
            ไปคัดลอกเองได้


 68  อยู่ในบุญ กรกฎาคม ๒๕๕๗                                        กรกฎาคม ๒๕๕๗ อยู่ในบุญ    69
                                                                                             69
                                                                     เมษายน ๒๕๕๘ อยู่ในบุญ
   1   2   3   4   5   6