Page 3 - สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระไตรปิฎกพิมพ์อักษรไทย อธิปไตยของแผ่นดิน
P. 3

๑.         ๒.           ๓.                     ๔.             ๕.



          ๑.  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงผนวช
          ๒.  พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากร แม่กองตรวจพระสุตตันตปิฎกกอง ๑
          ๓.  สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ พระราชอุปัธยาจารย์
            ประธานตรวจแบบฉบับพระไตรปิฎก
          ๔.  พระอริยมุนี (พระพรหมมุนี เหมือน สุมิตฺโต) แม่กองตรวจพระสุตตันตปิฎกกอง ๑
          ๕.  พระสาสนโสภณ (สมเด็จพระสังฆราชสา ปุสฺสเทโว) พระกรรมวาจาจารย์ รองอธิบดี
            จัดการทั้งปวง องค์ที่ ๒

               พระราชโองการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกด้วยอักษรสยามดังกล่าว แสดงถึงการเปลี่ยนแปลง

         วิธีการบันทึกพระไตรปิฎกจากการจารจารึกลงในใบลานเป็นการพิมพ์ด้วยกระดาษเย็บเข้าเล่ม
         เป็นหนังสือ ส่วนการเปลี่ยนแปลงอักษรที่บันทึกเนื้อความจากอักษรขอมซึ่งถือเป็นอักษรศักดิ์สิทธิ์
         มาแต่โบราณกาลมาเป็นอักษรสยามนั้น ยังถือเป็นการแสดงอารยธรรมของชาติอีกด้วย

               ในที่สุดพระไตรปิฎกชุดแรกในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาโลก คือ พระไตรปิฎก
                                                                               1
         จุลจอมเกล้าบรมธรรมิกมหาราช ร.ศ. ๑๑๒  จ�านวน ๑,๐๐๐ ชุด ชุดละ ๓๙ เล่ม  ได้เสร็จสมบูรณ์
         ทันการเฉลิมฉลองพระราชพิธีรัชดาภิเษกที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงครอง
         สิริราชสมบัติครบ ๒๕ ปี  หลังจากพิธีบ�าเพ็ญพระราชกุศลสวดมนต์ฉลองพระไตรปิฎกเสร็จสิ้น
         โปรดเกล้าฯ ให้พระราชทานพระไตรปิฎกและตู้บรรจุไปยังพระอารามหลวงและวัดราษฎร์ทั้งในกรุง

         และหัวเมือง บางวัดตัวแทนคณะสงฆ์ก็เดินทางมารับพระราชทานพระไตรปิฎกเอง ณ พระที่นั่ง
         อนันตสมาคม บางวัดพระองค์โปรดเกล้าฯ ให้จัดกระบวนแห่หลวงอัญเชิญพระไตรปิฎกไปที่วัด
         ซึ่งมีทั้งกระบวนแห่ทางบกและทางน�้า โดยแต่ละวัดได้จัดกระบวนแห่เข้าสมทบประกอบด้วย

         คณะสงฆ์และสาธุชนจ�านวนมาก เมื่อประดิษฐานพระไตรปิฎกภายในวัดเรียบร้อยแล้ว วันต่อมา
         จึงมีการฉลองสมโภชและการจัดพิธีกรรมทางศาสนา อาทิเช่น การเจริญพระพุทธมนต์ การแสดง
         พระธรรมเทศนา การจัดมหรสพ การสักการะ และการเวียนเทียนบูชาพระไตรปิฎก เป็นต้น


         1 ต่อมาในรัชกาลที่ ๗ จึงมีการพิมพ์พระไตรปิฎกอีก ๖ เล่มที่ขาดไป จนครบ ๔๕ เล่ม

           66
                 อยู่ในบุญ กรกฎาคม ๒๕๕๗
           66   อยู่ในบุญ สิงหาคม ๒๕๕๘                                                                                                                                      กรกฎาคม ๒๕๕๗ อยู่ในบุญ    67


                                                     66
   1   2   3   4   5   6