Page 2 - พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว...ก้าวสู่รัตนโกสินทร์ตอนกลาง
P. 2

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็น

                                           พระมหากษัตริย์ที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล ทรงเปี่ยมไปด้วย
                                           พระปรีชาสามารถทั้งทางโลกและทางธรรม อันสอดผสานกัน
                                           น�าพาประเทศให้ก้าวผ่านยุคที่อิทธิพลตะวันตกเริ่มเข้ามาใน

                                           แผ่นดิน โดยเฉพาะความรู้ในด้านการพระศาสนา ทรงเป็น
                                           พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีที่มีความรู้เรื่องพระไตรปิฎก
                                           อย่างลึกซึ้ง และเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์ที่ ๒ ที่มี

                                           ความรู้แตกฉานในหลักธรรมของพระพุทธศาสนาอย่างถ่องแท้
                                           ถัดจากพระมหาธรรมราชาลิไทแห่งราชวงศ์พระร่วงสุโขทัย
                                           ทั้งนี้เพราะทรงผนวชเป็นภิกษุในบวรพระพุทธศาสนาอยู่นาน

                                           ยิ่งกว่าพระมหากษัตริย์พระองค์ใดๆ ตั้งแต่เจริญพระชนมายุ

            ได้ ๒๑ พรรษา จนพระชนมายุ ๔๗  พรรษา จึงทรงลาผนวชเพื่อสืบทอดราชบัลลังก์ รวมระยะเวลา
            ครองสมณเพศได้ ๒๗ พรรษา

                 เจ้าฟ้ามงกุฎทรงด�ารงอยู่ในสมณเพศตลอดรัชสมัยแผ่นดินรัชกาลที่ ๓ มีฉายาว่า วชิรญาโณ
            ทรงเอาพระทัยใส่ศึกษาทั้งวิปัสสนาธุระและคันถธุระอย่างลึกซึ้ง ความแตกฉานในภาษามคธ
            ของพระองค์เป็นที่เลื่องลือ แม้ขณะนั้นจะทรงสอบพระปริยัติธรรมได้ชั้นประโยค ๑-๕ แต่ก็ทรง

            พระปรีชาสามารถแปลพระปริยัติธรรมในที่ประชุมพระราชาคณะผู้ใหญ่ถวายต่อหน้าพระพักตร์
            พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จนสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชมั่นพระราชหฤทัยในความรู้
            ของพระองค์ และมีพระราชศรัทธาถวายพัดเปรียญ ๙ ประโยค เพื่อเฉลิมพระเกียรติ และโปรดเกล้าฯ

            แต่งตั้งให้เป็นพระราชาคณะและกรรมการในการสอบไล่พระปริยัติธรรมพระภิกษุสามเณร
            ในเวลาต่อมา

                 ความเชี่ยวชาญในภาษามคธท�าให้เจ้าฟ้ามงกุฎทรงสามารถศึกษาพระไตรปิฎก
            ได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน เมื่อพิจารณามาถึงพระวินัยปิฎก ทรงเล็งเห็นว่าแบบแผน
            ความประพฤติของคณะสงฆ์ในขณะนั้นมีความวิปลาสคลาดเคลื่อนไปจากพุทธบัญญัติ

            เดิมอยู่มาก  จึงทรงส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรมและวัตรปฏิบัติของ
            พระสงฆ์ให้เคร่งครัดบริสุทธิ์ถูกต้องตามพระธรรมวินัย เช่น การครองผ้า

            ของพระภิกษุสามเณรตามเสขิยวัตรแห่งพระวินัย การแสดงอาบัติ
            การท�าพินทุ เป็นต้น และทรงพระราชนิพนธ์บทสวดภาษาบาลี
            ตั้งธรรมเนียมท�าวัตรเช้าและเย็นขึ้น ซึ่งบทพระราชนิพนธ์นี้ยังคง

            ใช้มาจนถึงปัจจุบัน แบบแผนธรรมเนียมที่ฟื้นฟูขึ้นนี้ทรงปฏิบัติ
            เป็นแบบอย่างตั้งแต่ยังทรงผนวชจนกระทั่งขึ้นเถลิงราชสมบัติ

            นับเป็นการสืบอายุพระพุทธศาสนาในประเทศไทยให้รุ่งเรืองขึ้น
            อีกวาระหนึ่งสมดั่งพระราชหฤทัยที่ตั้งไว้อย่างแน่วแน่

                                      พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จ
                                   พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเครื่องทรงศีล
                                                ทรงฉายเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๐


                                                     73
   1   2   3   4   5   6