Page 4 - หอไตร กลางสายธารแลสายธรรม
P. 4

ในทุกภาคของประเทศไทยมี
            การสร้างหอไตรกลางน�้าไว้มากมาย

            มาแต่ในอดีต ซึ่งต่างล้วนมีรูปทรง
            เป็นเอกลักษณ์ที่วิจิตรตระการตา

            ด้วยศิลปะเฉพาะถิ่นของช่างฝีมือ
            แห่งยุคสมัยที่ตั้งใจบรรจงสร้างให้

            งดงามที่สุด หลายแห่งอนุญาตให้
            ผู้สนใจศึกษาเข้าเยี่ยมชม อาทิเช่น

            หอไตรกลางน�้า  ณ  วัดมหาธาตุ
            จังหวัดยโสธร  ซึ่งเป็นวัดคู่บ้าน

            คู่เมืองมาแต่แรกสร้างเมือง             หอไตรกลางน�้า วัดมหาธาตุ เป็นอาคารสร้างด้วยไม้ หันหน้า
                                                  ไปทางทิศใต้ มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ช่อฟ้าตรงแนวกลาง
                                                      สันหลังคาแสดงถึงอิทธิพลของศิลปะช่างศิลป์แบบลาว


                  หอไตรแห่งนี้ถือเป็นหอไตรกลางน�้าที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของภาคอีสาน สันนิษฐานว่า
            สร้างขึ้นสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์  เป็นอาคารที่ใช้ศิลปะผสมผสานแบบช่างศิลป์ของลาว

            และรัตนโกสินทร์ได้อย่างลงตัว  สร้างด้วยไม้ทั้งหลัง  ภายในหอไตรนี้ตรงกลางยกสูงขึ้น

            จากพื้นเล็กน้อย เป็นห้องส�าหรับเก็บพระไตรปิฎกและคัมภีร์ต่าง ๆ และมีระเบียงทางเดิน
            โดยรอบใต้ชายคา เป็นที่เก็บรักษาตู้พระธรรม หีบพระธรรม และโบราณวัตถุที่ทรงคุณค่า
            และเป็นพื้นที่ให้พระภิกษุสามเณรเข้าไปนั่งศึกษาคัมภีร์ใบลาน กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียน

            หอไตรวัดมหาธาตุเป็นโบราณสถานของชาติ เป็นสมบัติคู่เมืองยโสธร เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๑























                ผนังของห้องเก็บพระไตรปิฎกพร้อมทั้งเสาและเครื่องบนของหอไตรเขียนลายรดน�้า ผนังจ�าหลักลาย
                แนวพรรณพฤกษา บานหน้าต่างประดับแผงรวงผึ้ง ส่วนล่างท�าเป็นรูปมะหวด และลวดลายปิดทอง
                              ประดับกระจกสี  ด้านนอกมีระเบียงเชื่อมต่อโดยรอบใต้ชายคา


                                                                      เมษายน ๒๕๕๗ อยู่ในบุญ 39



                                                     39
   1   2   3   4   5